การล้างไต คืออะไร ?
การล้างไต ก็คือ การขจัดหรือล้างของเสียที่คั่งค้างจากภาวะไตวาย ออกจากร่างกายของผู้ป่วย การล้างไตเป็นเพียงการทำงานทดแทนไตเดิมของผู้ป่วยเท่านั้น โดยไม่ได้ทำให้ไตของผู้ป่วยดีขึ้น ดังนั้น การล้างไตจึงต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องไปตลอดชีวิตเพื่อรักษาของเสียไม่ให้สูงจนเป็นอันตราย หากผู้ป่วยได้รับการฟองเลือด ได้รับยาอย่างสม่ำเสมอและได้รับการดูแลรักษาที่ดี ผู้ป่วยที่อายุน้อยและไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาจสามารถกลับไปทำงานได้
การล้างไต มี 2 วิธี
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)
2. การล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis)
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) คือ การขจัดของเสียที่คั่งค้างโดยการใช้เครื่องไตเทียม เลือดของผู้ป่วยจะถูกดึงผ่านเส้นเลือดที่แขน หรือ จากสายสวนเส้นเลือดชั่วคราว จากนั้นเลือดของผู้ป่วยจะผ่านตัวกรองเลือดเพื่อฟอกให้สะอาดโดยของเสียน้ำและเสียเกลือแร่ส่วนเกินจะถูกกรองออกก่อน และเลือดที่สะอาดจะถูกส่งกลับคืนเข้าตัวผู้ป่วย ผู้ป่วยต้องทำการฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 4-5 ชั่วโมงที่ศูนย์ไตเทียมที่มีพยาบาลและแพทย์เป็นผู้ดำเนินการรักษา โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องทำอะไรในขณะฟอกเลือด ผู้ป่วยสามารถอ่านหนังสือ ดูทีวีหรือพักผ่อนนอนหลับได้ การฟอกเลือดมีเจ็บเล็กน้อยเวลาพยาบาลลงเข็มแทงเส้นเลือดนอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีตะคริวหรือความดันต่ำได้บ้างในขณะฟอกเลือด เมื่อผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายตัดสินใจรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เพราะเส้นเลือดเหล่านี้ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์จึงสามารถใช้ได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรจะมีเส้นเลือดถาวรเตรียมพร้อมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อเริ่มมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยสามารถเริ่มฟอกเลือดได้ทันที
ส่วนผู้ป่วยที่เริ่มตัดสินใจฟอกเลือดช้า เมื่อมีอาการกำเริบแล้วและมีความจำเป็นต้องฟอกเลือดทันทีแพทย์อาจต้องใส่สายสวนเส้นเลือดชั่วคราวที่บริเวณหัวไหล่หรือคอก่อนทำเส้นเลือดถาวรโรคไตที่เกิดจากบางสาเหตุ เช่น โรคกรวยไตอักเสบ จะหายได้เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากภาวะช็อก หรือได้รับสารพิษที่เป็นพิษต่อไตจะดีขึ้นเอง แม้ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องฟอกเลือดก็สามารถหยุดได้เพราะไตจะฟื้นกลับมาปกติได้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังหลายเดือนหรือมีไตเล็กลง 2. การล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis)
การล้างไตทางช่องท้องเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการขจัดของเสีย ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องของผู้ป่วย ของเสียในเลือดจะแพร่กระจายเข้าสู่น้ำยาล้างไตหลังจากนั้นจึงเปลี่ยนน้ำยาล้างไตที่มีของเสียออกแล้วใส่น้ำยาล้างไตใหม่เข้าไปแทน ผู้ป่วยที่เลือกวิธีนี้ต้องใส่สายยางชนิดพิเศษสำหรับใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้องปลายสายข้างหนึ่งอยู่ในช่องท้องและปลายสายอีกข้างหนึ่งแทงผ่านผนังหน้าท้องออกมานอกผิวหนังของผู้ป่วย ในบริเวณต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ซึ่งผู้ป่วยสามารถต่อถุงน้ำยาล้างไตเข้ากับปลายด้านนอกนี้เพื่อเป็นช่องทางถ่ายน้ำยาระหว่างถุงภายนอกกับช่องท้องได้ การล้างทางช่องท้องต้องทำทุกวันๆ ละ 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งจะทิ้งน้ำยาไว้ในช่องท้อง 4-6 ชั่วโมงก่อนเทออก โดยที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลต้องทำเองที่บ้าน การรักษาโดยวิธีล้างทางช่องท้องนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการเดินทางไปศูนย์ฟอกเลือด หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำจนไม่สามารถฟอกเลือดได้ ข้อเสียคือต้องทำเองและมีโอกาสติดเชื้อได้